วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียความร้อนในทารกแรกเกิด



ทารกแรกเกิดโดนเฉพาะทารกเกิดกำหนดความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้ตนเองมีอุณหภูมิกายคงที่มีอยู่อย่างจำกัด  ส่งผลให้อุณหภูมิกายของทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม  และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะส่งผลต่อการสร้างความร้อนการใช้ออกซิเจนในทารก

การสูญเสียความร้อนจากผิวกายเกิดขึ้นได้ 4 วิธี
1.Evaporation  เป็นการสูญเสียความร้อนโดยให้น้ำระเหยแห้งไปเอง เช่น ทารกตัวเปียกน้ำคร่ำในท้องคลอด  การช่วยเหลือได้โดยการใช้ผ้าอุ่นเช็ดศีรษะและลำตัวให้แห้ง
2.Radiation การสูญเสียความร้อนโดยการแผ่รังสี  เป็นการเสียความร้อนจากวัตถุที่ร้อนกว่าไปยังวัตถุที่เย็นกว่าโดยที่วัตถุทั้ง 2 ไม่ได้สัมผัสกัน เช่น ทารกกับผนังห้อง  กับวัตถุต่างๆภายในห้อง  การใช้ radiant warmer  เป็นการช่วยลดการสูญเสียความร้อนด้วยวิธีนี้
3.Convection  การสูญเสียความร้อนโดยการพา  เป็นการสูญเสียความร้อนให้แก่อากาศล้อมรอบที่เย็นกว่า  จากการที่ลมมีอุณหภูมิต่ำกว่าพัดพาความร้อนไปจากผิวกาย เช่น  ลมจาดออกซิเจน  การช่วยเหลือโดยการให้ออกซิเจนอุ่นวางท่อออกซิเจนไม่ให้โดนทารกโดยตรง
4.Conduction  การสูญเสียความร้อนโดยการนำ  เป็นการสูญเสียความร้อนโดยการที่วัตถุ 2 ชิ้นมีการสัมผัสกันของพื้นผิว  เช่น  การที่ทารกนอนบนที่นอนที่เย็นกว่า  การใช้มือที่เย็นกว่าอุ้มทารก  การช่วยเหลือทารกโดยการทำให้สิ่งที่สัมผัสกับทารกอุ่นก่อนที่จะนำไปใช้กับทารก
ระบบการปรับอุณหภูมิร่างกาย  (Thermoregulatory  system)
การปรับอุณหภูมิกายอาศัย  thermoreceptors  ศูนย์ควลคุมอุณหภูมิซึ่งอยู่ที่  Hypothalamus และ effector organ systems โดยทำให้เกิดการตอบสนองโดยการหดรัดตัวหรือการขยายตัวของหลอดเลือด  การเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม  การขับเหงื่อ  และการหนาวสั่น
Thermoreceptors  มีอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย ซึ่งบริเวณใบหน้าและมือจะมี  cold  receptor  มากกว่าบริเวณอื่นๆ การรับรู้ core temperature จาก  thermoreceptor  และ  afferenc  signal  จะเข้าสู้ไขสันหลัง  lateral spinothalamic tract  สู่  hypothalamus  แล้วออกทาง  autonomic nervous system ซึ่งทำให้การขยายตัวหรือบีบตัวของหลอดเลือด  ขนลุก  และทำให้  adrenal medulla c]t  adrenergic  endings  หลั่ง  norepinephrine ในทารกแรกเกิด
การสร้างความร้อนในร่างกายเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิกายมี 2 วิธี คือ การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อการหนาวสั่น  (Shivering thermogenesis)  และปฏิกิริยาทางเคมี  (Nonshivering  หรือ  Chemical thermogenesis )  แต่ทารกยังไม่สามารถใช้การปรับตัวนี้สร้างความร้อนให้แก่ร่างกายได้  ต้องอาศัยปฏิกิริยาเคมีจาก brown fat  ซึ่งเป็นไขมันที่พบเฉพาะในทารกแรกเกิด  มี 2-6 %  ของน้ำหนักตัวทารก  บริเวณที่พบ brown fat  ได้แก่  บริเวณกระดูกสะบัก  รอบคอ  เหนือกระดูกไหปลาร้า  รักแร้  รอบหัวใจ  รอบไต  และต่อมหมวกไต  ดังนั้นทารกแรกเกิดจึ่งเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำได้
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
หมายถึงอุณหภูมิที่วัดทางทวารหนักต่ำกว่า  36.5 องศาเซลเซียน หรือวัดทางผิวหนังของลำตัวต่ำกว่า 36  องศาเซลเซียน
ทารกที่เสียงต่ออุณหภูมิต่ำ
1.ทารกที่เกิดก่อนกำหนด
2.ทารกที่น้ำหนักตัวน้อยเมื่อเทียบกับอายุครรภ์
3.ทารกที่มี perinatal  asphyxia
4.ทารกที่มารดาได้รับยาระงับปวดหรือยาสับ
การป้องกันการแก้ไขปัญหาการสูญเสียความร้อน
พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสูญเสียความร้อนและควบคุมระดับอุณหภูมิของทารกให้อยู่ในระดับที่มีการเผาผลาญน้อยที่สุด การป้องกันการสูญเสียความร้อนและควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกายทารกแรกเกิด มีหลักสำคัญ 2 ประการ คือ
1.การใช้ตู้อบ  ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องเข้าตู้อบทันที ได้แก่
-ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักร้อยกว่า 1,300 กรัม
-ทารกที่มีภาวะขาดออกซิเจนระยะแรกเกิดทันที
-ทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงหรืออยู่ในภาวะวิกฤติ
หลักการใช้ตู้อบต้องคำนึงถึงการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่เป็นเกณฑ์ คือการให้ทารกมีการสูญเสียความร้อนและการเผาผลาญความร้อนที่น้อยที่สุด
2.การพยาบาลทั่วไป
-ดูแลสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากผิวกายโดยวิธีต่างๆ เช่น  อุณหภูมิห้อง  การเช็ดตัวทารกหลังคลอดต้องทำด้วยความรวดเร็ว  การดูแลตัวทารกให้แห้งอยู่เสมอ  การเช็ดตัวทารกควรเช็ดด้วยน้ำอุ่นเสมอ  อุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้สำหรับทารกควรทำให้อุ่นก่อนเสมอ  เช่น  ผ้าห่อตัว  ผ้าอ้อม  เสื้อผ้า  ผ้ายาง  การไม่ปล่อยให้ทารกเปียกแฉะ  การเช็ดมือให้แห้งะอุ่นเสียก่อนสัมผัสทารกและควรสัมผัสอย่างนุ่มนวลและแผ่วเบา

-การรบกวนทารกให้น้อยที่สุดเพื่อให้ทารกได้พักผ่อนและใช้พลังงานน้อยลง